วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีการดูเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน ๔

มาตรฐานเสือของหลวงพ่อปาน คือ เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า ซึ่งมีทั้งเสือหุบปาก และเสืออ้าปาก

คาถาที่หลวงพ่อปาน ใช้ปลุกเสือ นำไปใช้กันได้ครับ

ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า

"โอม พยัคโฆ พยักฆา สูญญา ลัพพะติ

อิติ ฮัม ฮัม ฮึม ฮึม" (ว่าคาถา 3 จบ แล้วอฐิษฐานเลยครับ ตอนว่าคาถา ฮัม

ฮัม ฮึม ฮึม ให้ออกเสียงน่าเกรงขามหน่อยจะดีครับ ปลุกตนไปด้วย)

นอกจากเสือหลวงพ่อปาน แล้วยังมีเสือของหลวงพ่อเรือน ด้วยเพราะท่านไปเรียนวิชาทำเสือมาพร้อมกัน

เสือหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเรือนนี่จะยุค ร.5 ถ้ามาหลวงพ่อนก ก็จะยุค ร .7 ก็เก่าเหมือนกันนะ แต่ท่านจะจารคนละแบบ พอแยกแยะได้ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อสาย และหลวงพ่อทอง จะสร้างต่อๆมาอีก ซึ่งเนื้อจะยังไม่จัดเท่าหลวงพ่อปาน

ค่อยๆคุยกันครับ ว่าจะเขียนเรื่องรอยจาร และ เนื้อเขี้ยว สีเขี้ยว ซึ่งดูยังไงว่าถึงยุคหลวงพ่อปานนะครับ และวิธีดูรอยกลวงของเขี้ยวเสือ ว่าดูยังไงเป็นเขี้ยวเสือ อันไหนเป็นเขี้ยวอย่างอื่น และฝีมือช่างยุคหลวงพ่อปานนี่เอกลักษณ์จะไม่ทิ้งกันครับ ใครมีข้อมูล รูปภาพอะไร มาแลกเปลี่ยนความรู้ กันครับ

เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนี่ จะต้องทำจากเขี้ยวเสืออย่างเดียวเท่านั้น จะไม่ใช่เขี้ยวชนิดอื่นๆ จะมีทั้งเต็มเขี้ยว และเขี้ยวซีก มีคุณสมบัติทึบแสง

อือ ลืมบอกไป เขี้ยวสัตว์ที่ถือว่าเป็นของทนสิทธิ์ ในตัว ถ้าเป็นเขี้ยวหมูจะต้องตัน ซึ่งเขี้ยวหมูตันจะหายาก ถ้าเป็นเขี้ยวเสือต้องกลวงครับ เขี้ยวเสือกลวงจะมีอำนาจในตัวมากครับ บางท่านเรียก เขี้ยวโปร่งฟ้า ครับ เป็นเขี้ยวของพญาเสือโคร่ง มีอำนาจ มีตบะมาก แค่จ้องสัตว์ สัตว์จะเหมือนถูกตรึงอยู่กับที่ แทบหมดเรี่ยวแรงที่จะหนีเลย

เนื่องจากเขี้ยวเสือนั้น จะหายากมาก แม้ในยุค ร. 5 เสือยังมีชุกอยู่ในไทยก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆนะครับ ดังนั้น เมื่อได้เขี้ยวมาจึงนำเขี้ยวมาแบ่ง เขียว 1 เขี้ยวถ้าเป็นเสือตัวใหญ่จะแบ่งได้ถึง 5 ท่อน สามารถนำมาแกะเสือได้ 5 เสือ ทีเดียว

ถ้าแบ่งเป็นเขี้ยวซีกก็จะมาแกะได้เสือได้มากกว่า 5 เสือ โดยแบ่งเขี้ยวเป็นครึ่งๆ เมื่อนำมาแกะจะได้เสือตัวเล็กใหญ่แตกต่างกันออกไป

พูดถึงการจารยันต์ของหลวงพ่อปานนี่ ถ้าจารแบบครบสูตรจริงๆ

จะมีดังนี้ครับ

1.จารที่ขาหน้าใต้คาง 2 ข้าง ซึ่งอักขระที่ ลง มักจะเป็นตัว อุ ซึ่ง มีทั้ง อุ หัวคว่ำ และอุ หัวหงาย ลายมือดูจะเป็นธรรมชาติมาก และจะมีเอกลักษณ์ของท่านเอง

2.จารที่บริเวณสีข้างเสือ บริเวณด้านข้าง ไม่ใช่สีข้างทีเดียว ท่านจะลงบริเวณ สโลบด้านข้างระหว่างสีข้าง กับหลัง อาจลงข้างละ 2 ตัว รวม 2 ข้างลงอักขระ 4 ตัว ท่านมักจะลงยันต์ เป็นลักษณะคล้าย เลข 7 ไทย หรือเลข 3 ไทย มี 3 ขยัก หางตวัด การวาง และการลงเหล็กจาร จะเขียนตัวเอียงๆ และเรียบร้อย การลงเส้นหนักเบาจะแลดูเป็นธรรมชาติ ถ้าเป็นขีดๆ แบบเลข 7 แต่มี 4 หรือ5 ขยัก และลงแบบดูไม่รู้เรื่อง จะไม่ใช่ ระวังให้ดี ครับ

3.บริเวณกลางหลังเสือ ท่านจะลงจารอักขระอีกหลายตัวเป็นแถวลงมา จากหัวถึงหาง

4.บริเวณใต้ฐาน จะจารยันต์กอหญ้า และถ้ามีพื้นที่มาก ท่านจะลงยันต์กอหญ้า 2 ตัว ตรงข้ามกัน และถ้าเต็มสูตรท่านจะลงตัว ฤ ฤา และตัวอุ ด้วย และลงรอยขีดขีด 2 เส้นขนานกัน ถ้ามีพื้นที่น้อยจะลงยันต์กอหญ้าเพียงตัวเดียว ลายยันต์กอหญ้านี่แหละที่เป็นตัววัดว่าใช้เสือหลวงพ่อปานไหม ต้องจำลายมือท่านให้แม่น + องค์ประกอบอื่นๆด้วย

มีเสือบางเสือ ที่ ท่านจารยันต์เต็มไปหมดทั้งตัวเลยก็มี น่าจะเป็นยุคต้นที่ท่านยังมีเวลามาก

การดูสีเขี้ยว สีของเขี้ยวขึ้นอยู่กับการใช้ หรือการเก็บ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเต็ม หรือเขี้ยวซีก ตามธรรมชาติ สีของเขี้ยวจะไม่เสมอกันเด็ดขาด สีของเนื้อเขี้ยวด้านที่อยู่ใกล้รูตรงกลางจะมีสีอ่อนกว่าสีเขี้ยวที่อยู่ริม นั่นแสดงว่าเขี้ยวซีกที่ผ่าครึ่งเช่นกัน ด้านหนึ่งต้องสีอ่อน ด้านหนึ่งสีแก่ ถ้าสีเท่าๆกัน อาจเป็นเขี้ยวทอดน้ำมันได้ หรือย้อมสีได้

รูเขี้ยว ตามธรรมชาติ รูของเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานจะต้องเป็นรูปวงรี หรือกลม แบบธรรมชาติ (ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นวงรี) ยาวทะลุผ่านตลอดจากบนลงล่างตลอดแนวเขี้ยว ไม่มีขุย ไม่มีรอยเจาะ ไม่มีรอยตะไบ รอดปาด ไม่มีการใช้สว่านเจาะเด็ดขาด ของปลอมมักจะใช้สว่านเจาะ และถ้ารูเป็นรูป 3 เหลี่ยม มักเป็นเขี้ยวหมี หรือถ้ารูแปลกๆก็จะเป็นรูเขี้ยวสัตว์ประเภทอื่นๆครับ

แถมท้าย พิมพ์ของเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์มาตรฐานที่ถูกต้อง ขาด้านหน้า 2 ขาจะใหญ่ และการแกะเท้าจะเป็นลักษณะเหมือนจิกลงพื้น ส่วนหางนั้นจะแกะพันไปด้านข้าง บางตัวถ้าพื้นที่น้อย หางจะแกะพาดไปบนหลัง และบางตัวเล็กๆ หรือพื้นที่เขี้ยวไม่พอ หางจะไม่แกะ หรือแกะก็ไม่ชัดนักก็ได้

การแกะเขี้ยวเสือนั้นสมัยก่อนจะใช้มีดแกะทั้งนั้น ถ้าเป็นเสือที่แกะเรียบร้อยเกิน เขาจะใช้เครื่องกรอฟันทันสมัยแกะ ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีครับ ลองสังเกตุรอยแกะเขี้ยวให้ดี

ขออีกนิด เสือหลวงพ่อปาน จะแบ่งศิลปะการแกะหลักๆ ได้ 3 ที่

1. ศิลปะหลัก คงแกะโดยช่างกลุ่มเดียวกันมีหลายท่าน แกะกันบริเวณใกล้วัด ผมสังเกตุเสือหลายตัวของกลุ่มนี้แล้ว ศิลปะจะไม่ค่อยหนีกันเท่าไหร่ ซึ่งก็คือ เสือที่ผมถ่าย และนำมาจากเว็ปอื่นมาลงไว้ด้านบนนี้ละครับ ถ้าจำศิลปะได้จะพอแยกแยะได้

2. ศิลปะโดยช่างฝีมือชาวบ้าน มีมากมายหลายแบบ เพราะหลวงพ่อท่านธุดงค์ไปทั่ว บางครั้งชาวบ้านจะแกะมาเอง แล้วดักรอให้ท่านเมตตาปลุกเสกให้ อันนี้ต้องดูความเก่า และรอยจารเป็นสำคัญ

3. ศิลปะช่างวัดกลาง น่าจะเป็นวัดกลาง จ.สมุทรปราการ หรือเปล่าคุณโตช่วยบอกด้วย เห็นเขาเรียก วัดกลาง วัดกลาง ข้อมูลเสือแกะวัดกลางผมมีไม่มาก แต่เท่าที่สังเกตุจะเป็นเขี้ยวซีก และแกะเสือแบบแปลกๆไม่เหมือนกัน

สำหรับท่านที่ไม่ทราบ คำว่า เขี้ยวซีก ซึ่งก็คือ เขี้ยวเสือ นำมาผ่าครึ่งในแนวบนลงล่าง แล้วนำมาแกะ เขาเรียกเขี้ยวซีก ส่วนถ้านำมาทั้งเขี้ยว แล้วตัดในแนวซ้ายไปขวา จะมีรู เขาเรียกเต็มเขี้ยว

เขี้ยวซีก จะดูยังไงว่าเป็นเขี้ยวเสือ หรือเขี้ยวอื่น ให้ดูรอยลานด้านฐาน จะมีรอยลานเข้าหากลางเขี้ยวครับสังเกตุให้ดี และอีกอย่างเขี้ยวเสือจะมีสีไม่เสมอกันทั้งเขี้ยวนะครับ ถ้าสีเสมอกันทั้งเขี้ยวระวังครับ

* ข้อคิดเห็นจากคุณ นิลศิลป์ เว็บพลังจิต คลิ๊กที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น